First Principles

วันนี้ได้อ่านบทความนึงที่น่าสนใจใน The Independent เกี่ยวกับ Elon Musk อีกแล้วครับ และสำหรับผมมันมาในตอนที่ผมกำลังต้องใช้พอดีครับ
.
ก่อนที่ Elon Musk จะมาเป็นยอดนักธุรกิจเปลี่ยนโลกแบบที่เราเห็นอย่างทุกวันนี้ เขาอยู่บนเส้นทางที่จะไปเป็นนัก physics มาก่อน อันที่จริงเขาเริ่มการศึกษาปริญญาเอกด้าน applied physics ในมหาวิทยาลัย Stanford ไปแล้วด้วย
.
แต่แม้เขาออกจากการเรียนเมื่อผ่านไปเพียงไม่กี่วันอย่างที่เราเคยอ่านๆเรื่องราวนี้กัน แต่ศาสตร์ด้าน applied physics นั้นทิ้งอะไรบ้างอย่างไว้ให้กับ Elon Musk
.
ไม่แน่ว่าบางทีสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ applied physics ได้บอกกับ Elon Musk คือแนวคิดของ “first principles thinking” ซึ่งมุ่งหาสาเหตุของรากฐานที่เป็นแก่นแท้ของปัญหาอย่างไม่ลดละ
.
“ผมคิดว่ามันสำคัญที่จะหาเหตุผลจากหลักการแรก (first principles) มากกว่าการหาเหตุผลจากการเปรียบเทียบ (analogy)” Elon Musk เคยกล่าวไว้ครั้งนึงในการให้สัมภาษณ์กับ Kevin Rose
.
“การดำเนินวิถีชีวิตตามปรกติ เราใช้หลักเหตุผลโดยเปรียบเทียบเอา เพราะการเปรียบเทียบมันเหมือนกับสิ่งที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว หรือสิ่งที่คนอื่นกำลังทำอยู่”
.
“แต่กับ first principles เราจะสกัดทุกอย่างลงมาหารากฐานของความจริงที่ลึกที่สุด แล้วค่อยๆสร้างเหตุผลขึ้นมาจากรากฐานของความจริงนั้น”
.
แท้จริงแล้ววิธีคิดแบบ first principles นั้นมีมายาวนานมากแล้ว
.
กว่า 2300 ปีที่ Aristotle บอกว่า first principles นั้นเป็นรากฐานของความเข้าใจในสรรพสิ่งและ first principles ยังเป็นกุญแจสำคัญในการค้นหาความจริงอย่างเป็นระบบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของปรัชญาอย่างที่ Aristotle ทำหรือ เรื่องของธุรกิจแบบที่ Elon Musk ทำ
.
ถึงแม้ Elon Musk จะบอกว่าการถกเถียงหรือตามหาเกี่ยวกับ first principles นั้น “เหน็ดเหนื่อยและใช้พลังงานทางสมองอย่างมหาศาล” แต่ผลลัพธ์ของมันมีโอกาสที่จะเกิดทางออกแบบมหัศจรรย์ขึ้นได้
.
วีธีการคิดแบบ first principles นี่แหละที่เป็นกุญแจสำคัญในการเริ่มต้น SpaceX
.
ตอนที่ Elon Musk และทีมของเขาพยายามจะคำนวณว่าจรวดลำแรกของ SpaceX จะมีต้นทุนประมาณเท่าไร จริงๆพวกเขาสามารถดูราคาจรวดที่มีคนเคยทำมาแล้ว และเริ่มเปรียบเทียบจากตรงนั้นก็ได้ (ซึ่งเป็นสิ่งที่คนปรกติอย่างเราๆพึงจะทำ) แต่ทีมของ Elon Musk ไม่ทำแบบนั้นเพราะการทำแบบนั้นเป็น analogy-based thinking ไม่ใช่ first principles thinking
.
สิ่งที่พวกเขาทำคือกลับมาสู่จุดเริ่มต้นว่า แท้จริงแล้วการสร้างจรวดต้องมีอะไรบ้าง และหาต้นทุนของแต่ละส่วนที่จำเป็นในการสร้างชิ้นส่วนต่างๆที่พวกเขาคิดว่าจำเป็นต่อการสร้างจรวดโดยไม่ได้คำนึงถึงว่าก่อนหน้านี้จรวดเคยมีแบบไหนมาก่อน
.
ผลที่ออกมาจากวิธีการคิดแบบนี้น่าตกใจมากครับ SpaceX สามารถสร้างจรวดด้วยต้นทุนประมาณ 2% ของราคาจรวดปกติเท่านั้นเองครับ
.
Elon Musk ยังยกตัวอย่างไว้อีกเรื่อง
.
เขาบอกว่าเราจะได้ยินคนพูดเสมอว่าราคาของแบตเตอรี่นั้นแพงมาก มันเป็นแบบนี้มานานแล้ว และมันก็คงจะเป็นแบบนี้ไปอีกนานเพราะว่ามันเป็นแบบนี้มานานแล้วแหละ
.
พวกเขาอาจจะพูดว่า “ราคาของมันก็คงจะอยู่แถว $600/ kilowatt-hour และมันก็คงไม่ถูกลงไปซักเท่าไรในอนาคตหรอก”
.
แต่ถ้าคุณใช้ first principles thinking คุณจะไม่คิดแบบนี้ แต่คุณจะตั้งคำถามด้วยคำถามที่พื้นฐานที่สุดคือ
.
อะไรคือสิ่งที่ประกอบกันขึ้นมาเป็นแบตเตอรี่ และราคา ณ วันนี้ของวัตถุดิบแต่ละอย่างที่กล่าวมานั้นเป็นเท่าไร
.
แบตเตอรี่นั้นประกอบด้วย คาร์บอน, นิเกล, อลูมิเนียม, โพลิเมอร์ต่างๆ และเหล็กที่หุ้มมัน
.
ถ้าเราดูราคาตามวัตถุดิบ แล้วไปดูราคาที่ตลาดกลางในที่นี้คือ London Metal Exchange มันควรจะมีราคาเท่าไร
.
สรุปราคามันอยู่ที่ $80 / kilowatt-hour
.
นั้นหมายความว่าเราต้องหาวิธีที่ฉลาดกว่านี้ในการรวมวัตถุดิบเหล่านี้เข้ามาเป็นฟังก์ชั่นที่ใช้งานเป็น battery cell ได้ และเราก็จะได้แบตเตอรี่ที่ถูกมากกว่าที่ใครจะนึกถึง
.
ข้อคิดจากเรื่องนี้ : ถ้าคุณใช้ first principles thinking คุณจะมองปัญหาจากมุมที่แตกต่างมาก และมีโอกาสที่จะตัดสินใจได้ดีกว่าคนที่เคยทำๆแบบเดิมๆมาอยู่แล้ว
.
อันนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผมเอง ผมคิดว่า stratup ที่มาเปลี่ยนโลกหลายๆบริษัทก็มีแนวคิดทำนองนี้เช่นกัน คือมองปัญหาจากอีกมุมนึงเลย มุมที่ไม่เคยมีใครมอง
.
เรื่องนี้ฟังดูง่ายๆแต่ถ้าคิดดีๆเอาไปต่อยอดได้มหาศาลครับ

Cr: Mission To The MoonFirst principles

My blog